เธซเธ™เน‰เธฒเธซเธฅเธฑเธ เธงเธฑเธ•เธ–เธธเธ›เธฃเธฐเธชเธ‡เธ„เนŒ เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธด เธเธฃเธฃเธกเธเธฒเธฃ เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก เธฃเนˆเธงเธกเธšเธฃเธดเธˆเธฒเธ„ เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธด
เน‚เธ„เธฃเธ‡เธเธฒเธฃเธžเธดเน€เธจเธฉ : เธญเธธเนˆเธ™เธฃเธฑเธเน„เธงเน‰เน‚เธญเธšเน‚เธฅเธ
 
 
 
เธซเธญเธจเธดเธฅเธ›เนŒเธชเธกเน€เธ”เน‡เธˆเธžเธฃเธฐเธ™เธฒเธ‡เน€เธˆเน‰เธฒเธชเธดเธฃเธดเธเธดเธ•เธดเนŒ เธžเธฃเธฐเธšเธฃเธกเธฃเธฒเธŠเธดเธ™เธตเธ™เธฒเธ–
เน‚เธฃเธ‡เธžเธขเธฒเธšเธฒเธฅเธžเธฃเธฐเธกเธ‡เธเธธเธŽเน€เธเธฅเน‰เธฒ
เธฃเธฒเธŠเธงเธดเธ—เธขเธฒเธฅเธฑเธขเธเธธเธกเธฒเธฃเนเธžเธ—เธขเนŒเนเธซเนˆเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธงเธดเธ—เธขเธฒเธฅเธฑเธขเนเธžเธ—เธขเธจเธฒเธชเธ•เธฃเนŒเธžเธฃเธฐเธกเธ‡เธเธธเธŽเน€เธเธฅเน‰เธฒ
เธเธญเธ‡เธเธธเธกเธฒเธฃเน€เธงเธŠเธเธฃเธฃเธก
เนเธžเธ—เธขเธชเธ เธฒ
เธเธฃเธฐเธ—เธฃเธงเธ‡เธชเธฒเธ˜เธฒเธฃเธ“เธชเธธเธ‚
เธเธฃเธกเนเธžเธ—เธขเนŒเธ—เธซเธฒเธฃเธšเธ
เน‚เธ„เธฃเธ‡เธเธฒเธฃเธเธณเธฅเธฑเธ‡เนƒเธˆ
 
 
ADOBE FLASH PLAYER
ADOBE READER
 
“ มาทำความเข้าใจกับ โรคฮีโมฟีเลีย ”
 
  ผศ.พ.ท.นพ.ชาญชัย ไตรวารี  
     
 
       โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคเลือดออกง่าย หยุดยาก เรื้อรังตลอดชีวิต เป็นตั้งแต่เกิด เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด โรคฮีโมฟีเลียมี 2 ชนิด คือโรคฮีโมฟีเลีย เอ เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เรียกว่าแฟคเตอร์แปด และโรคฮีโมฟีเลีย บี เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เรียกว่าแฟคเตอร์เก้า ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกเกิดขึ้นได้เองโดยเฉพาะที่ตามข้อมือ,เท้าหรือมีเลือดออกในสมองได้โดยไม่ได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย มีโอกาสเกิดอาการเลือดออกได้บ่อยถึง 30-50 ครั้ง/ปี และถ้ามีระดับแฟคเตอร์ต่ำปานกลาง (1-5% ของระดับปกติ) จะมีอาการเลือดออกเมื่อได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย 3-10 ครั้ง/ปี
 
 
   

รูปแสดงเลือดออกที่ข่อเข่าขวา

รูปแสดงเลือดออกในสมอง

 
     
 
       ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับแฟคเตอร์เข้มข้นหรือส่วนประกอบของเลือดเพื่อทดแทนปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่พร่องในผู้ป่วย ส่วนประกอบของเลือดมีราคาแพงและแฟคเตอร์เข้มข้นมีราคาแพงมากกว่า แพทย์ต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ระยะเวลาอยู่โรงพยาบาลขึ้นกับความรุนแรงของอาการเลือดออก ตั้งแต่ 3-7 วันจนถึงเป็นแรมเดือน เป็นค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขที่สูง บิดามารดาและครอบครัวก็ต้องเสียค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายเพื่อมาดูแลผู้ป่วยรวมทั้งสูญเสียรายได้จาการทำงาน
 
     
   
 

รูปแสดงตัวอย่างแฟคเตอร์เข้มข้นที่ใช้

 
     
 

       ในปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้จัดสรรเงินจำนวนเงิน 90,000-120,000 บาท สำหรับผู้ป่วยฮีโมฟีเลียแต่ละรายต่อปี เพื่อจัดซื้อแฟคเตอร์เข้มข้นสำหรับรักษาอาการเลือดออกแรกเริ่มที่บ้านหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน แต่สามารถจัดซื้อแฟคเตอร์เข้มข้นได้ในจำนวนจำกัด ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีอาการเลือดออกในข้อเรื้อรังมีความต้องการแฟคเตอร์เข้มข้นมากกว่านี้ ซึ่งระบบสาธารณสุขไทยยังไม่สามารถให้บริการได้ ยีนที่ควบคุมการสร้างแฟคเตอร์แปดหรือเก้าจะอยู่บนโครโมโซมเอกซ์ (X) ถ้ามีความผิดปกติของยีนดังกล่าวจะทำให้เกิดโรค โรคนี้เป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อยบนโครโมโซมเอกซ์ (X-linked recessive) เพศชายจะมีโครโมโซม X 1 แท่ง โครโมโซม Y 1 แท่ง (XY) และเพศหญิงจะมีโครโมโซม X 2 แท่ง (XX) หากชายใดมีโครโมโซม X ที่มียีนของโรคฮีโมฟีเลียจะแสดงอาการของโรค ในขณะที่หญิงมีโครโมโซม X หนึ่งแท่งมียีนโรคฮีโมฟีเลีย จะไม่เกิดอาการของโรค เพราะหญิงนั้นยังมีโครโมโซม X อีกแท่งหนึ่งทำหน้าที่ต่างๆแทนได้ จะเรียกหญิงนั้นว่ามีพาหะโรคฮีโมฟีเลียแฝง (carrier)

       ผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย ถ้าแต่งงานกับหญิงปกติ หากได้ลูกชาย ลูกชายจะปกติไม่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย หากได้ลูกสาว ลูกสาวจะมีพาหะโรคฮีโมฟีเลียแฝง ซึ่งจะถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานต่อไปได้

       หญิงที่มีพาหะโรคฮีโมฟีเลียแฝงจะถ่ายทอดโรคฮีโมฟีเลียไปให้แก่ลูกชายร้อยละ 50 ของลูกชายทั้งหมด และถ่ายทอดภาวะที่มีพาหะโรคฮีโมฟีเลียแฝงให้แก่ลูกสาวร้อยละ 50 ของลูกสาวทั้งหมด

       นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีผู้ใดในครอบครัวมีอาการของโรคเลือดออกง่ายหยุดยากมาก่อน เกิดจากการกลายพันธุ์ (mutation) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเองของยีนที่มีการควบคุมการสร้างแฟคเตอร์แปด หรือแฟคเตอร์เก้าในมารดาหรือผู้ป่วย ซึ่งพบได้ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียทั้งหมด

 
     
 

 
  รูปแสดง แม่ที่เป็นพาหะโรคฮีโมฟีเลียแฝง มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้ลูกชายเป็นโรคฮีโมฟีเลียร้อยละ 50 ของลูกชายทั้งหมด และลูกสาวเป็นพาหะโรคฮีโมฟีเลียแฝงร้อยละ 50 ของลูกสาวทั้งหมด  
     
เธซเธ™เน‰เธฒเธซเธฅเธฑเธเธงเธฑเธ•เธ–เธธเธ›เธฃเธฐเธชเธ‡เธ„เนŒเธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธดเธเธฃเธฃเธกเธเธฒเธฃเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเธฃเนˆเธงเธกเธšเธฃเธดเธˆเธฒเธ„เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธด
© Copyright 2010 : The Children's Foundation, Phramongkutklao Hospital - Under Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha : All Rights Reserved.
Designed By www.SG.in.th