เธซเธ™เน‰เธฒเธซเธฅเธฑเธ เธงเธฑเธ•เธ–เธธเธ›เธฃเธฐเธชเธ‡เธ„เนŒ เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธด เธเธฃเธฃเธกเธเธฒเธฃ เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก เธฃเนˆเธงเธกเธšเธฃเธดเธˆเธฒเธ„ เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธด
เน‚เธ„เธฃเธ‡เธเธฒเธฃเธžเธดเน€เธจเธฉ : เธญเธธเนˆเธ™เธฃเธฑเธเน„เธงเน‰เน‚เธญเธšเน‚เธฅเธ
 
 
 
เธซเธญเธจเธดเธฅเธ›เนŒเธชเธกเน€เธ”เน‡เธˆเธžเธฃเธฐเธ™เธฒเธ‡เน€เธˆเน‰เธฒเธชเธดเธฃเธดเธเธดเธ•เธดเนŒ เธžเธฃเธฐเธšเธฃเธกเธฃเธฒเธŠเธดเธ™เธตเธ™เธฒเธ–
เน‚เธฃเธ‡เธžเธขเธฒเธšเธฒเธฅเธžเธฃเธฐเธกเธ‡เธเธธเธŽเน€เธเธฅเน‰เธฒ
เธฃเธฒเธŠเธงเธดเธ—เธขเธฒเธฅเธฑเธขเธเธธเธกเธฒเธฃเนเธžเธ—เธขเนŒเนเธซเนˆเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธงเธดเธ—เธขเธฒเธฅเธฑเธขเนเธžเธ—เธขเธจเธฒเธชเธ•เธฃเนŒเธžเธฃเธฐเธกเธ‡เธเธธเธŽเน€เธเธฅเน‰เธฒ
เธเธญเธ‡เธเธธเธกเธฒเธฃเน€เธงเธŠเธเธฃเธฃเธก
เนเธžเธ—เธขเธชเธ เธฒ
เธเธฃเธฐเธ—เธฃเธงเธ‡เธชเธฒเธ˜เธฒเธฃเธ“เธชเธธเธ‚
เธเธฃเธกเนเธžเธ—เธขเนŒเธ—เธซเธฒเธฃเธšเธ
เน‚เธ„เธฃเธ‡เธเธฒเธฃเธเธณเธฅเธฑเธ‡เนƒเธˆ
 
 
ADOBE FLASH PLAYER
ADOBE READER
 
โรคหวัด (Common cold)
 
  พันโทหญิง แพทย์หญิง สนิตรา ศิริธางกุล  
     
 
        เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่พบบ่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
 
     
 

       สาเหตุและระบาดวิทยา
       ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยทุกอายุคือ rhinovirus ไวรัสชนิดอื่น เช่น parainfluenza virus, respiratory syncytial virus และ adenovirus ทำให้เกิดโรคหวัดได้แต่อาจจะมีอาการรุนแรงมากกว่าโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
โรคหวัดมักพบในช่วงเวลาที่มีอากาศเย็นและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ เช่น ฤดูหนาว โดยเฉลี่ยเด็ก    มีโอกาสเป็นหวัดได้ 6-8 ครั้งต่อปี และพบน้อยลงเมื่อเด็กโตขึ้น ในผู้ใหญ่พบเป็นหวัดได้ 2-4 ครั้งต่อปี

       อาการ    
       มีน้ำมูกใสในวันแรก ต่อมาน้ำมูกอาจเปลี่ยนเป็นสีเขียวได้จากการที่เม็ดเลือดขาวหลั่งสาร  บางอย่างออกมากำจัดเชื้อโรค การมีน้ำมูกสีเขียวหรือเหลืองจึงไม่ได้แปลว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเสมอไป มีอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวกเนื่องจากมีอาการบวมของเยื่อบุจมูก โดยทั่วไป ไข้ในโรคหวัดมักไม่สูง แต่ในทารกและเด็กเล็กอาจมีไข้สูงได้ อาการอื่นๆที่พบได้แก่ จาม เจ็บคอ ไอ ปวดศีรษะหรือปวดเมื่อยตามตัว อาการไข้และเจ็บคอมักไม่เกิน 1-3 วัน อาการคัดจมูกหรือมีน้ำมูกมักเป็นไม่เกิน 7-10 วัน ถ้ามีน้ำมูกเกิน 2 สัปดาห์ ให้สงสัยว่าอาจมีไซนัสอักเสบหรือจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วย

       การรักษา
       เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่มีการรักษาจำเพาะในโรคนี้ ยกเว้นกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ จึงจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การกินยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นอาจแพ้ยา ทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ไม่สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อน และไม่ได้ทำให้โรคหวัดหายเร็วขึ้น
การรักษาที่สำคัญในโรคนี้คือการรักษาประคับประคองและรักษาตามอาการ ได้แก่ ใช้ผ้าสะอาดเช็ดน้ำมูก ใช้น้ำเกลือหยอดจมูก ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูก ในเด็กโตให้สั่งน้ำมูกออกเอง พักผ่อน และให้ดื่มดื่มน้ำมากๆ ลดไข้โดยเช็ดตัวและให้กินยาลดไข้ เช่น paracetamol ไม่แนะนำให้ใช้ aspirin หรือ ibuprofen ในโรคหวัด บรรเทาอาการไอโดยดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำผึ้งผสมมะนาวบ่อยๆ

       ภาวะแทรกซ้อน 
       ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ นอกจากนี้โรคหวัดยังเป็นตัวกระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบในเด็กที่มีภาวะหลอดลมไวเกินอีกด้วย

       การป้องกัน
       โรคหวัดติดต่อกันได้โดยการสัมผัสน้ำมูกของผู้ป่วยโดยตรง หรือสัมผัสกับน้ำมูกที่ปนเปื้อนมา กับสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน เช่น ของเล่น ราวบันได แล้วเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุตาหรือเยื่อบุโพรงจมูก ดังนั้นการป้องกันที่ได้ผลดีที่สุดคือ ฝึกเด็กให้ล้างมือบ่อยๆโดยใช้น้ำและสบู่ให้สะอาด หรืออาจใช้น้ำยาล้างมือ  ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ก็ได้ และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคหวัด ไม่พาเด็กเล็กไปในที่ชุมชน เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ ตลาด เมื่อเป็นหวัดแล้วแนะนำให้ใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอจาม ควรพักอยู่บ้าน 2-3 วัน ไม่ควรไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กขณะมีไข้หรือไอมาก
       ปัจจุบันมีไวรัสกว่า 200 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคหวัด ดังนั้นจึงยังไม่มีวัคซีนจำเพาะสำหรับป้องกันโรคหวัด นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนมากเพียงพอว่า วิตามินซีไม่ว่าขนาดปกติหรือขนาดสูง จะสามารถป้องกันโรคหวัดได้

 

 
     
เธซเธ™เน‰เธฒเธซเธฅเธฑเธเธงเธฑเธ•เธ–เธธเธ›เธฃเธฐเธชเธ‡เธ„เนŒเธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธดเธเธฃเธฃเธกเธเธฒเธฃเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเธฃเนˆเธงเธกเธšเธฃเธดเธˆเธฒเธ„เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธด
© Copyright 2010 : The Children's Foundation, Phramongkutklao Hospital - Under Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha : All Rights Reserved.
Designed By www.SG.in.th