เธซเธ™เน‰เธฒเธซเธฅเธฑเธ เธงเธฑเธ•เธ–เธธเธ›เธฃเธฐเธชเธ‡เธ„เนŒ เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธด เธเธฃเธฃเธกเธเธฒเธฃ เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก เธฃเนˆเธงเธกเธšเธฃเธดเธˆเธฒเธ„ เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธด
เน‚เธ„เธฃเธ‡เธเธฒเธฃเธžเธดเน€เธจเธฉ : เธญเธธเนˆเธ™เธฃเธฑเธเน„เธงเน‰เน‚เธญเธšเน‚เธฅเธ
 
 
 
เธซเธญเธจเธดเธฅเธ›เนŒเธชเธกเน€เธ”เน‡เธˆเธžเธฃเธฐเธ™เธฒเธ‡เน€เธˆเน‰เธฒเธชเธดเธฃเธดเธเธดเธ•เธดเนŒ เธžเธฃเธฐเธšเธฃเธกเธฃเธฒเธŠเธดเธ™เธตเธ™เธฒเธ–
เน‚เธฃเธ‡เธžเธขเธฒเธšเธฒเธฅเธžเธฃเธฐเธกเธ‡เธเธธเธŽเน€เธเธฅเน‰เธฒ
เธฃเธฒเธŠเธงเธดเธ—เธขเธฒเธฅเธฑเธขเธเธธเธกเธฒเธฃเนเธžเธ—เธขเนŒเนเธซเนˆเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธงเธดเธ—เธขเธฒเธฅเธฑเธขเนเธžเธ—เธขเธจเธฒเธชเธ•เธฃเนŒเธžเธฃเธฐเธกเธ‡เธเธธเธŽเน€เธเธฅเน‰เธฒ
เธเธญเธ‡เธเธธเธกเธฒเธฃเน€เธงเธŠเธเธฃเธฃเธก
เนเธžเธ—เธขเธชเธ เธฒ
เธเธฃเธฐเธ—เธฃเธงเธ‡เธชเธฒเธ˜เธฒเธฃเธ“เธชเธธเธ‚
เธเธฃเธกเนเธžเธ—เธขเนŒเธ—เธซเธฒเธฃเธšเธ
เน‚เธ„เธฃเธ‡เธเธฒเธฃเธเธณเธฅเธฑเธ‡เนƒเธˆ
 
 
ADOBE FLASH PLAYER
ADOBE READER
 
การสื่อสารกับวัยรุ่น
Communication in Adolescent
 
 

วิโรจน์     อารีย์กุล

 
     
 
       การสื่อสารมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทควรเลือกใช้ตามสถานการณ์ให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ คำแนะนำ คำปรึกษา การซักประวัติ การพูดคุย รวมไปถึงภาษาท่าทาง (Nonverbal communication) ที่ใช้ประกอบกับภาษาพูด (Verbal communication) การให้คำปรึกษาเป็นวิธีการสื่อสารที่ยากที่สุด เนื่องจากเป็นการสื่อสารสองทาง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจในปัญหาของตนเองและสามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจ มีการฝึกฝน และที่สำคัญคือมีเจตคติที่ดีในการสื่อสาร การสื่อสารกับวัยรุ่นเป็นสิ่งที่ดูเหมือนง่าย ไม่ต้องลงทุน แต่บางครั้งก็ไม่ง่ายดังที่เราคาดหวัง เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในช่วงระยะเวลาพิเศษอีกช่วงหนึ่งของการพัฒนาจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่(1) ผู้ใหญ่หลายคนมีความรู้สึกว่าเด็กบางคนจากที่เคยว่านอนสอนง่ายกลับเปลี่ยนเป็นวัยรุ่นที่ดื้อรั้น ไม่เชื่อฟัง ในขณะเดียวกันตัวของวัยรุ่นเองก็มีความรู้สึกว่าคุณครู พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับฟังเหตุผลหรือความคิดเห็นของเขา ไม่รักเขา ไม่ต้องการเขา
       ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากการสื่อสารที่ยังไม่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะในเรื่องของพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ วัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาแห่งความขัดแย้ง ความยุ่งเหยิง ความสับสน ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่จะถือดีที่สุดและเลวที่สุด ที่มีทั้งสุขและทุกข์ (“The best of times and the worse of times”) เป็นช่วงระเวลาที่พ่อแม่หลายคนให้ความสนใจ ตั้งความมุ่งหวังอย่างแรงกล้าและมีความรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าร้อยละ 80 ของเด็กที่เข้าสู่วัยรุ่นสามารถเจริญเติบโตและมีพัฒนาการไปเป็นผู้ใหญ่ได้โดยไม่มีปัญหา มีเพียงร้อยละ 20 ของเด็กเท่านั้นที่มีปัญหา ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคลากรทางการแพทย์และคนทั่วไปจะต้องเข้าไปมีบทบาทและให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านี้(2) ปัญหาของวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา สถานการณ์และสภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคม ปัญหาของวัยรุ่นในอดีตสามารถนำมาเป็นข้อคิด บทเรียน และประสบการณ์ได้ แต่ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เท่าหรือเหมือนกันในสังคมปัจจุบันนี้ได้ ในปัจจุบันนี้สัดส่วนประชากรของวัยรุ่นมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่ตามมามีเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามจะต้องไม่ลืมว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นนั้นเป็นผลต่อเนื่องมาจากพัฒนาการและการเรียนรู้ในวัยเด็กอายุ 5-10 ปี(2) ดังนั้นเราจะต้องปลูกฝังและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กมาก่อน เพื่อให้เด็กเหล่านี้ก้าวเข้าสู่วัยรุ่นที่สามารถมีพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่ปลอดภัยจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่เขาจะต้องเรียนรู้และต้องเผชิญในภายภาคหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ ยาเสพย์ติด พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ การปรับตัว การเรียน ความรับผิดชอบ ฯลฯ เขาควรจะได้รับการปลูกฝัง และถูกสอนให้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ก่อนที่เขาเหล่านั้นจะต้องเผชิญหรือมีประสบการณ์จริงเมื่อเขาโตขึ้นเป็นวัยรุ่น        การสื่อสารในช่วงระยะก่อนวัยรุ่นดูเหมือนจะทำได้ง่ายแต่เรามักละเลยหรือไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร กลับไปให้ความสำคัญหรือให้ความสนใจในด้านอื่นๆ มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามการสื่อสารในช่วงระยะวัยรุ่นถึงแม้จะเป็นช่วงระยะเวลาที่ยาก แต่คงจะต้องกระทำและต้องให้ความสำคัญมากกว่าเดิมด้วย เพราะเป็นโอกาสครั้งสุดท้ายก่อนที่เขาจะเป็นผู้ใหญ่และที่สำคัญวัยรุ่นยังเป็นช่วงระยะเวลาที่เขามีพฤติกรรมเสี่ยงและมีโอกาสประสบปัญหาต่างๆ ได้มากที่สุด(1,3) และมีประสบการณ์ตรงได้ด้วยตนเอง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้การช่วยเหลือ ป้องกัน และแก้ไข
การสื่อสารนอกจากจะทำให้เกิดความเข้าใจอันดีแล้ว ยังเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใย ความผูกพันที่ชัดเจน และตรงประเด็น ซึ่งเป็นสิ่งที่วัยรุ่นต้องการและไม่ต้องลงทุน เหมือนการแสดงออกโดยวิธีอื่นๆ แต่ดูเหมือนว่าสิ่งเหล่านี้ถูกละเลยไป ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ใหญ่ พ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการสื่อสารมากนัก แต่กลับมุ่งเน้นไปแสดงออกถึงความรักโดยวิธีการอื่นๆ ได้แก่ การให้ทรัพย์สิน เงินทอง หรือสิ่งของที่มีราคาแพง โดยคิดเอาเองว่าของยิ่งมีราคาแพงและหายาก จะแสดงออกถึงความรักความห่วงใยได้มากต่อวัยรุ่น การแสดงออกถึงความรักในปัจจุบันมักเน้นไปทางด้านวัตถุนิยมเป็นส่วนใหญ่ จึงมีผลที่ตามมาคือ วัยรุ่น ไม่รู้คุณค่าของสิ่งของ ไม่รู้สึกถึงความรักความผูกพันที่พ่อแม่มอบให้ การสื่อสารที่ดีในครอบครัวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญและใกล้ตัวมากที่สุดที่เราทำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้และตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นได้ และที่สำคัญยังเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆ ต่อไปในอนาคตของวัยรุ่นอีกด้วย มีการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนว่าความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารที่ดีในครอบครัวระหว่างวัยรุ่นและพ่อแม่ กับการปรับตัวของวัยรุ่นในด้านต่างๆ เช่น ความเชื่อมั่นในตัวเอง ความสำเร็จทางด้านการศึกษา การมีชีวิตอย่างมีความสุข ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวเนื่องมาจากการสื่อสาร การพูดคุย ถกเถียงในแง่มุมทั้งทางด้านดีและด้านลบกับพ่อแม่ การสื่อสารกับวัยรุ่นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู คุ้นเคยและปฏิบัติกันอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำกันได้ดี มีเพียงส่วนน้อยนั้นที่รู้สึกยังไม่พึงพอใจมากนัก

Download>> เอกสารการสื่อสารกับวัยรุ่นทั้งหมด

 
     
 

      

 
     
เธซเธ™เน‰เธฒเธซเธฅเธฑเธเธงเธฑเธ•เธ–เธธเธ›เธฃเธฐเธชเธ‡เธ„เนŒเธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธดเธเธฃเธฃเธกเธเธฒเธฃเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเธฃเนˆเธงเธกเธšเธฃเธดเธˆเธฒเธ„เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธกเธนเธฅเธ™เธดเธ˜เธด
© Copyright 2010 : The Children's Foundation, Phramongkutklao Hospital - Under Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha : All Rights Reserved.
Designed By www.SG.in.th